โรคเลือดออกไหลไม่หยุด

โรคเลือดออกไหลไม่หยุด

สาเหตุ

การแข็งตัวของเลือดต้องอาศัยส่วนประกอบที่เรียกว่าเกล็ดเลือดและ ปัจจัยที่ช่วยในการแข็งตัวของเลือด
  • ฮีโมฟีเลียเอ : เจอมากที่สุด เนื่องจากขาด clotting factor VIII
  • ฮีโมฟีเลียบี : เจอรองลงมา เนื่องจากขาด clotting factor IV
  • ฮ๊โมฟีเลียซี : เป็นประเภทที่เจอได้น้อยในสหรัฐอเมริกา เนื่องจากขาดปัจจัยการแข็งตัวของเลือด (clotting factor XI) อาการจะค่อนข้างน้อย
      การถ่ายทอดทางพันธุกรรมของฮีโมฟีเลีย : เนื่องจากทุกๆ คนจะมีโครโมโซมเพศอยู่ 2 แท่ง แต่ละอัน
ได้มาจากพ่อและแม่ผู้หญิงได้โครโมโซมเอกซ์มาจากพ่อและแม่ละอัน ส่วนผู้ชายได้โครโมโซมเอกซ์มา
จากแม่ แต่โครโมโซมวายมาจากพ่อ ซึ่งยีนซึ่งก่อให้เกิดโรคฮีโมฟีเลียนั้นอาศัยอยู่บนโครโมโซมเอกซ์
ดังนั้นจึงไม่สามารถถ่ายทอดผ่านพ่อไปยังลูกชายได้ และฮีโมฟีเลียเอและบีนั้นมักเกิดในเด็กชายซึ่งผ่าน
มาทางแม่ ในผู้หญิงที่มียีนตัวนี้มักเป็นพาหะและไม่แสดงอาการ และเป็นไปได้ว่าฮีโมฟีเลียเอและ
บีอ่านมีการกลายพันธุ์เองก็เป็นได้ ส่วนยีนของฮีโมฟีเลียซีนั้นสามารถถ่ายทอดผ่านพ่อหรือแม่ก็ได้
สาเหตุของฮีโมฟีเลียคือการขาดปัจจัยดังกล่าว ซึ่งประเภทของฮีโมฟีเลียจะขึ้นกับว่าขาดปัจจัยใด

อาการ
     ผู้ป่วยจะมาพบแพทย์ด้วยอาการเลือดออกง่ายและหยุดยาก จะเริ่มมีอาการตั้งแต่เด็ก โดยมีภาวะเลือดออกผิดปกติเป็นๆหายๆ ตำแหน่งเลือดออกที่พบได้บ่อยตามลำดับ คือ ในข้อ ในกล้ามเนื้อ เหงือกและฟัน และที่ตำแหน่งอื่นๆ เช่น เยื่อบุผิวต่างๆ และจะมีอาการที่เกิดเนื่องจากผลข้างเคียงที่มีเลือดออกในข้อบ่อยๆ เช่นข้อพิการ ข้อติด กล้ามเนื้อฝ่อลีบ อาการและสัญญาณของฮีโมฟีเลียแตกต่างขึ้นอยู่กับว่าคุณขาดโปรตีนที่เป็น ส่วนประกอบในกระบวนการการแข็งตัวของเลือดมากน้อยเพียงใด ถ้าอยู่ในระดับต่ำ อาจทำให้เกิดเลือดไหลเอง ถ้าอยู่ในระดับปานกลางอาจมีเลือดออกเฉพาะหลังผ่าตัดหรือได้รับอุบัติเหตุ ซึ่ง
อาการของเลือดออกเองมีดังนี้

  1. อาจมีแผลฟกช้ำใหญ่และลึก
  2. มีเลือดออกภายในข้อ ทำให้ข้อบวมและเจ็บ
  3. เลือดออกนานกว่าปกติหลังจากได้รับอุบัติเหตุ, ผ่าตัด, หรือถอนฟัน
  4. เลือดกำเดาออกโดยโดยไม่มีสาเหตุที่ชัดเจน
  5. รู้สึกตึงที่ข้อต่อ
  6. สัญญาณฉุกเฉินว่ามีภาวะเลือดออกไม่หยุดคือ
  7. มีอาการปวด, บวม, ร้อนทันทีของข้อขนาดใหญ่ เช่น เข่า, ข้อศอก, ข้อสะโพก, ไหล่ และกล้ามเนื้อที่แขนและขา
  8. เจ็บและปวดหัวเป็นระยะเวลานาน
  9. คลื่นไส้บ่อยๆ
  10. อ่อนเพลียมาก
  11. ปวดคอ
  12. เห็นภาพซ้อน

ในเด็กที่เป็นโรคฮีโมฟีเลีย ในช่วงแรกที่ยังไม่สามารถเคลื่อนไหวได้มากนักอาจยังไม่พบปัญหา แต่เมื่อเด็กสามารถเดิน วิ่ง หรือมีการเคลื่อนไหวได้มากขึ้น อาจนำสู่อุบัติเหตุ เกิดการฟกช้ำในระดับตื้นและมีเลือดออกในเนื้อเยื่อบ่อยครั้ง



การรักษาโรคเลือดไหลไม่หยุด
โรคฮีโมฟิเลีย คือโรคเลือดออกไหลไม่หยุด หรือ เลือดออกง่ายหยุดยาก เป็นโรคทางพันธุกรรมที่ทำให้เลือดแข็งตัวช้าผิดปกติ ที่พบบ่อยมี 3 ชนิด ได้แก่
1. ฮีโมฟิเลีย เอ เกิดจากการขาดปัจจัยการแข็งตัวของเลือด (factor VIII) และมีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบ X-linked recessive
  • 2. ฮีโมฟิเลีย บี เกิดจากการขาดปัจจัยการแข็งตัวของเลือด (factor IX) และมีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบ X-linked recessive

  • 3. ฮีโมฟิเลีย ซี เกิดจากการขาดปัจจัยการแข็งตัวของเลือด (factor XI) และมีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบ autosomal recessive
        โรคทั้งสองชนิดฮีโมฟิเลีย เอ และ บี (Hemophilia A และ B) มีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบ
 X-linked recessive ดังนั้นจึงเป็นโรคที่พบมากในเพศชายเพราะยีนที่กำหนดโรคฮีโมฟีเลียอยู่ใน 
โครโมโซมเพศหญิง (โครโมโซม X) และถ่ายทอดความผิดปกตินี้ให้ลูก ส่วนเพศหญิงหากได้รับ
โครโมโซมเพศหญิงที่ผิดปกติ ก็จะไม่แสดงอาการ เนื่องจากมีโครโมโซมเพศหญิงอีกตัวที่ปกติข่มอยู่
 แต่จะเป็นพาหะแทน ทั้งฮีโมฟิเลีย เอ และฮีโมฟิเลีย บี เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้มีเลือดออกผิดปกติ
ในโพรงกระดูก (intraosseous haemorrhage) และในข้อ (intraarticular haemorrhage)
 ความรุนแรงของโรคแบ่งออกเป็น 3 ระดับตามปริมาณของสารช่วยการแข็งตัวของเลือดที่
ตรวจวัดได้ในพลาสมา ได้แก่
1. ขาดสารที่ช่วยในการแข็งตัวของเลือดอย่างรุนแรง (severe deficiency) ตรวจวัดปริมาณสาร
ที่ช่วยในการแข็งตัวของเลือดเหลืออยู่น้อยกว่า 1 หน่วยสากลต่อลิตร ผู้ป่วยอาจมีเลือดออก
ผิดปกติได้เองโดยไม่จำเป็นต้องได้รับบาดเจ็บ (spontaneous bleeding)
2. ขาดสารที่ช่วยในการแข็งตัวของเลือดปานกลาง (moderate deficiency) ตรวจวัดปริมาณสาร
ที่ช่วยในการแข็งตัวของเลือดได้ระหว่าง 1-15 หน่วยสากลต่อลิตร ผู้ป่วยจะมีเลือดออกผิดปกติ
ภายหลังได้รับบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย
3. ขาดสารที่ช่วยในการแข็งตัวของเลือดเล็กน้อย (mild deficiency) ตรวจวัดปริมาณสารที่
ช่วยในการแข็งตัวของเลือดได้ระหว่าง 5-50 หน่วยสากลต่อลิตร ผู้ป่วยอาจมีเลือดออกมาก
ผิดปกติภายหลังได้รับบาดเจ็บรุนแรงหรือภายหลังการ ผ่าตัด
         อุบัติการณ์การเกิดโรคฮีโมฟิเลียเกิดขึ้นประมาณ 1:10000 ของการคลอด ส่วนในประเทศไทย
คาดการณ์ว่ามีอุบัติการณ์การเกิดของโรคนี้ประมาณ 1:13000 ซึ่งประมาณการว่ามีผู้ป่วย
ในประเทศไทยประมาณ 4,500 คน โรคฮีโมฟิเลีย เอ พบในผู้ชายประมาณ 1:5000 คน 
ส่วนโรคฮีโมฟิเลีย บี มีอัตราการเกิดโรคน้อยกว่าฮีโมฟิเลีย เอ ถึง 5 เท่า ในแง่ของการรักษา
ผู้ป่วยโรคนี้ก็ต้องให้ปัจจัยการแข็งตัวของเลือดเข้มข้นตาม แต่ละชนิด เพื่อทดแทนปัจจัย
การแข็งตัวของเลือดที่ผู้ป่วยขาดไปซึ่งมีอยู่ 8 ชนิด ดังนี้
  1. 1. พลาสม่าสดแช่แข็ง fresh frozen plasma (FFP)
  2. 2. พลาสม่าเข้มข้นไครโอปริซิปิเตท (cryoprecipitate)
  3. 3. พลาสม่าส่วนที่เหลือจากการเตรียมไครโอปริซิปิเตท (cryo-removed plasma)
  4. 4. พลาสม่าสดผง (fresh dried plasma ; FDP)
  5. 5. พลาสม่าแห้งที่ไม่มีไครโอปริซิปิเตท
  6. 6. ไครโอปริซิปิเตท ผงผ่านความร้อน (heat–treated lyophilized cryoprecipitate ; HTLC)
  7. 7. การันทีนพลาสม่า (guarantine plasma)
  8. 8. แฟคเตอร์เข้มข้น (factor concenteate)
       ซึ่งชนิดที่ 1-7 นั้นสามารถที่จะผลิตได้ในประเทศไทย แต่ปริมาณที่ผลิตมีเพียงร้อยละ 10-20
 ของที่ต้องการและยังพบว่ามีความเสี่ยงต่อผู้ใช้เนื่องจากพบการปนเปื้อนเชื้อ ไวรัสบางชนิดใน
ผลิตภัณฑ์ที่ให้กับผู้ป่วย แต่ในขณะที่แฟกเตอร์เข้มข้นซึ่งใช้เทคโนโลยีระดับสูงในการผลิตและ
ต้องนำเข้า จากต่างประเทศกลับมีความปลอดภัยมากกว่า และยังไม่พบผลเสียใดๆในการให้แก่ผู้ป่วย
 แต่ข้อเสียคือมีราคาแพง ดังนั้นหลายๆองค์กรในประเทศไทยที่มีหน้าที่ในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคฮีโมฟิ 
เลีย จึงมีแนวคิดที่จะเพิ่มประสิทธิภาพและสมรรถภาพในการผลิตผลิตภัณฑ์เหล่านี้ ขึ้นใช้เองภายใน
ประเทศ เพื่อเป็นการลดการนำเข้าผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น