โรคหอบหืด

โรคหอบหืด
สาเหตุ
         ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคหืดได้แก่ กรรมพันธุ์และสิ่งแวดล้อม เช่นถ้าพ่อแม่เป็นโรคหืด ลูกจะ มีโอกาสเป็นโรคหืดเพิ่มขึ้น ส่วนสิ่งแวดล้อมที่ทำให้เกิดโรคหืดที่สำคัญได้แก่ สารก่อภูมิแพ้ เช่น ไรฝุ่น ขนสุนัข ขนแมว เป็นต้น มีการศึกษาพบว่า บ้านที่พ่อและ/หรือแม่สูบบุหรี่ ลูกมีโอ กาสเป็นโรคหืดมากกว่าบ้านที่พ่อแม่ไม่สูบบุหรี่
อาการ
         ของผู้ป่วยโรคหืดคือ อาการไอ อาการหอบ และหายใจมีเสียงหวีด อาการไอมักจะไอแห้งๆหรืออาจมีเสมหะเล็กน้อย สีขาวใส ผู้ป่วยจะมีอาการเป็นๆหายๆ อาการมักเป็น มากในเวลากลางคืนหรือเวลาที่สัมผัสสิ่งกระตุ้น (สารก่อภูมิแพ้) เนื่องจากหลอดลมผู้ป่วยโรคหืดไวต่อสิ่งกระตุ้นผิดปกติ ดังนั้นเวลาสัมผัสสิ่งกระตุ้นหลอดลมจะหดตัวทำให้หลอดลมตีบ ทำให้ผู้ป่วยโรคหืดมีอาการไอ หอบ หายใจลำบาก หายใจมีเสียงหวีด ซึ่งเราเรียกว่า การจับหืดถ้าหลอดลมไม่ตีบมากนัก ผู้ป่วยอาจมีแต่อาการไอเพียงอย่างเดียวและไม่รู้สึกเหนื่อยหอบ หายใจลำบาก หรือมีเสียงหวีดอาการหอบหายใจลำบากและมีเสียงหวีดนี้ บางทีก็อาจทุเลาหายไปได้เองหรือดีขึ้นเมื่อกินยาหรือพ่นยาขยายหลอดลม แต่ถ้าหลอดลมตีบมากผู้ป่วยก็จะมีอาการมากจนทำงานปกติไม่ไหว ต้องหยุดงานและต้องมารับการรักษาที่โรงพยาบาลหรือห้องฉุกเฉินบางครั้งหลอดลมตีบมาก ผู้ป่วยอาจหายใจไม่ได้เลย ส่งผลให้ขาดอากาศหายใจ ทำให้เสียชีวิตได้ ซึ่งเรามักจะไม่ทราบว่าโรคหืดทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ เพราะส่วนมากผู้ป่วยจะไม่เสีย ชีวิตเพราะได้รับการรักษาก่อนสิ่งกระตุ้นที่จะทำให้ผู้ป่วยโรคหืดหอบได้มีหลายอย่างเช่น
  • สารก่อภูมิแพ้เช่น ขนสุนัข ขนแมว ไรฝุ่น และละอองเกสรดอกไม้
  • การสัมผัสความร้อน - เย็นเช่น การรับประทานไอศกรีมหรือเข้าห้องแอร์
  • การออกกำลังกาย การหัวเราะมากๆ
  • มีอารมณ์เปลี่ยนแปลงเช่น เครียด
  • มีอารมณ์เปลี่ยนแปลงเช่น เครียด
  • การรับประทานยาบางตัวเช่น ยากลุ่มแอสไพริน และยาต้านการอักเสบในกลุ่มเอ็นเสด (NSAIDs) และยาลดความดันโลหิตกลุ่มบีตา บลอกเกอร์(Beta-blocker) เช่น ยาโปรปาโนโลล (Propanolol) เป็นต้นโรคหืดมีสาเหตุจากพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ในเด็กที่พ่อแม่เป็นโรคหืดลูกจะมีโอกาสเป็นโรคหืดเพิ่มขึ้นซึ่งปัจจัยนี้อาจจะป้องกันไม่ได้

การป้องกัน

        สิ่งแวดล้อมมีผลต่อการเกิดโรคหืดมาก สิ่งที่สำคัญได้แก่ สารก่อภูมิแพ้เช่น ไรฝุ่น ขนสัตว์ เกสรดอกไม้ ควันบุหรี่ ฯลฯ ทั้งนี้มีการศึกษาพบว่า เด็กที่อาศัยในบ้านที่มีระดับสารก่อภูมิ แพ้มากจะมีโอกาสเป็นโรคหืดมากกว่าเด็กที่อาศัยในบ้านที่มีระดับสารก่อภูมิแพ้ต่ำ เด็กที่อาศัยในบ้านที่พ่อหรือแม่สูบบุหรี่มีโอกาสเกิดโรคหืดมากกว่าเด็กที่อาศัยในบ้านที่พ่อแม่ไม่สูบบุหรี่ ดังนั้นจากความรู้ที่เรามีเราอาจสามารถลดการเกิดโรคหืดได้โดยพยายามดูแลบ้านให้สะอาดปราศจากฝุ่นละออง ไม่เลี้ยงสัตว์เลี้ยงในบ้าน ไม่มีคนสูบบุหรี่ เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น